2209521 วากยสัมพันธ์ (Syntax)

Fall 2024

วิชานี้จะเน้นให้นิสิตวิเคราะห์วากยสัมพันธ์ในภาษามนุษย์ เนื้อหาแบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก ในส่วนแรกจะเป็นการเรียนวากยสัมพันธ์เชิงทฤษฎีในแนวไวยากรณ์เพิ่มพูน (generative grammar) โดยใช้ตัวอย่างจากภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อเริ่มต้นจากความคุ้นเคย แต่ในขณะเดียวกันก็จะให้วิเคราะห์ภาษาที่มีแบบลักษณ์ที่หลากหลาย วิชาจะเน้นการสร้างทฤษฎีจากข้อมูล (theory building) นั่นคือ สอนให้นิสิตรู้จักใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการตั้งสมมุติฐานที่สามารถทดสอบได้ด้วยข้อมูลภาษา สรุปผลเป็นทฤษฎี และนำทฤษฎีไปใช้ต่อ วิชานี้จะไม่เน้นการเล่าเนื้อหาและท่องจำผลการวิเคราะห์ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา แต่จะเน้นให้นิสิตได้เห็นว่าทฤษฎีทางวากยสัมพันธ์มาได้อย่างไร และใช้การเสนอข้อโต้แย้ง (argumentation) อย่างไร ทำให้นิสิตสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผลการวิเคราะห์ของผู้อื่นได้ด้วยตนเอง ส่วนที่สองของวิชาจะแสดงให้เห็นการศึกษาวากยสัมพันธ์ในหลากหลายรูปแบบที่ไม่ใช่แค่การศึกษาในแบบไวยากรณ์เพิ่มพูนเชิงทฤษฎี อาทิ การทดลองทางวากยสัมพันธ์ การใช้วิธีการทางคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาวากยสัมพันธ์ รวมไปถึงการประยุกต์ใช้ทฤษฎีวากยสัมพันธ์ในด้านอื่นๆ เช่น การประมวลผลภาษาธรรมชาติ

เอกสารประกอบการเรียนทั้งหมดสามารถกดเข้าดูได้จากเว็บไซต์นี้ ส่วนที่ไม่มีจะส่งให้ทางอีเมลของนิสิต

ครั้งที่ 1
ไวยากรณ์ วากยสัมพันธ์ หมวดหมู่ทางวากยสัมพันธ์ (grammar, syntax, syntactic categories)
ครั้งที่ 2
ความเป็นหน่วยประกอบ, วลี (constituency, phrase)
ครั้งที่ 3
ไวยากรณ์เพิ่มพูน กฎโครงสร้างวลี ทฤษฎีเอกซ์บาร์ (generative grammar, phrase structure rules, X̄ theory)
ครั้งที่ 4
ทฤษฎีเอกซ์บาร์ (ต่อ), สมมติฐานวลีหน่วยบ่งชี้, ลำดับชั้นทางหน้าที่ (X̄ theory, DP hypothesis, functional hierarchy)
เอกสาร:xbar, dp, xbar-assg
ครั้งที่ 5
ความใกล้เคียง ซีคอมมานด์ ทฤษฎีการผูกยึด (locality, c-command, binding theory)
เอกสาร:locality,locality-assg
ครั้งที่ 6
โครงสร้างยกระดับอาร์กิวเมนต์ การย้ายที่แบบเอ การกนามธรรม (raising, A-movement, abstract Case)
เอกสาร:raising
ครั้งที่ 7
โครงสร้างอาร์กิวเมนต์ กริยาวลีซ้อน กรรมวาจก กริยาไร้กรรมการก สมมติฐานประธานในกริยาวลี (argument structure, VP shells, passive voice, unaccusativity, VP-internal subject hypothesis)
เอกสาร:vp, vpish, amovement-assg
ครั้งที่ 8
โครงสร้างคอนโทรล, PRO, pro (control, PRO, pro)
เอกสาร:control
ครั้งที่ 9
สัปดาห์เก็บตกเนื้อหา (วันรับปริญญา -- 2 ต.ค.)
ครั้งที่ 10
การย้ายที่แบบเอบาร์ เกาะทางวากยสัมพันธ์ (A'-movement, syntactic islands)
เอกสาร:abarmovement,abarmovement-assg
ครั้งที่ 11
การศึกษาวากยสัมพันธ์เชิงหน้าที่ แบบลักษณ์วากยสัมพันธ์ (functionalist syntax, syntactic typology)
ครั้งที่ 12
หยุดวันปิยมหาราช
ครั้งที่ 13
หัวข้อคัดสรรทางวากยสัมพันธ์ (1) (บรรยายพิเศษ จาก รศ.ดร. ธีราภรณ์ รติธรรมกุล)
ครั้งที่ 14
หัวข้อคัดสรรทางวากยสัมพันธ์ (2)
ครั้งที่ 15
หัวข้อคัดสรรทางวากยสัมพันธ์ (3)
ครั้งที่ 16
นำเสนอผลงาน (project presentations)

การประเมินผล

เกณฑ์การประเมินผลและนโยบายการเรียน (โปรดอ่าน): Assessment

บทอ่านประกอบ

Linzen, T., & Oseki, Y. (2018). The reliability of acceptability judgments across languages. Glossa: A Journal of General Linguistics, 3(1). https://doi.org/10.5334/gjgl.528
McCoy, R. T., Frank, R., & Linzen, T. (2020). Does syntax need to grow on trees? Sources of hierarchical inductive Bias in sequence-to-sequence networks. Transactions of the Association for Computational Linguistics, 8, 125–140. https://doi.org/10.1162/tacl_a_00304
Wilcox, E. G., Futrell, R., & Levy, R. (2022). Using computational models to test syntactic learnability. Linguistic Inquiry, 1–88. https://doi.org/10.1162/ling_a_00491
Yamada, N., & Pittayaporn, P. (2019). Probabilistic measures for diffusion of linguistic innovation: As seen in the usage of verbal “Nok” in Thai Twitter. Proceedings of the 33rd Pacific Asia Conference on Language, Information and Computation, 271–278. https://jaslli.org/files/proceedings/32_paclic33_postconf.pdf

หนังสืออ่านเพิ่มเติม (ไม่บังคับ)

Carnie, A. (2021). Syntax: a generative introduction (4th ed.). Wiley.
Haegeman, L. (1994). Introduction to government and binding theory. Wiley.
Hornstein, N., Nunes, J., & Grohmann, K. K. (2005). Understanding minimalism. Cambridge University Press.
Müller, S. (2023). Grammatical theory: From transformational grammar to constraint-based approaches (5th ed.). Language Science Press. https://doi.org/10.5281/zenodo.7628029
Sportiche, D., Koopman, H., & Stabler, E. (2013). An introduction to syntactic analysis and theory. Wiley.

วิดีโอดูประกอบ (ไม่บังคับ)

Carnie Syntax 4th Edition YouTube channel (การวิเคราะห์อาจแตกต่างจากในชั้นเรียนเล็กน้อย)
© 2022-2024 | Ponrawee Prasertsom